วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557



            กลไกสำคัญในการทำงานของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล (Internet อินเทอร์เน็ตส่วนประกอบสำคัญของอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลได้แก่ หมายเลขอินเทอร์เน็ตแอดเดรส หรือ ไอพีแอดเดรส (IP address) ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เปรียบเสมือนการใช้งานโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกัน จะต้องมีเลขหมายเบอร์โทรศัพท์เพื่อให้อ้างอิงผู้รับสายได้ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตก็ต้องมีหมายเลข IP Address ที่ไม่ซ้ำกับใคร
               นักวิจัยเริ่มพบว่าจำนวนหมายเลข IP address ของ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคตตระหนักถึงปัญหาสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก(Internet Protocol version 6; IPv6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ IPv6 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของตัวโพรโตคอล ให้รองรับหมายเลขแอดเดรสจำนวนมาก 

          ประโยชน์หลักของ IPv6 และเป็นเหตุผลสำคัญของการเริ่มใช้ IPv6 ได้แก่ จำนวน IP address ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาลเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวน IP address เดิมภายใต้ IPv4 IPv4 address มี 32 บิต ในขณะที่ IPv6 address มี 128 บิต ความแตกต่างของจำนวน IP address มีมากถึง 296 เท่า

ทำไมหมายเลข IPv6 address จึงมีความยาวแตกต่างกัน
          มายเลข IPv6 มี 128 บิต ประกอบไปด้วย กลุ่มตัวเลข 8 กลุ่มเขียนขั้นด้วยเครื่องหมาย “:” โดยแต่ละกลุ่มคือเลขฐาน 16 จำนวน 4ตัว (16 บิต) เช่น
          - 3fee:085b:1f1f:0000:0000:0000:00a9:1234
       - 0000:0000:0000:0000:0000:0000:0000:0001
       - fec0:0000:0000:0000:0200:3cff:fec6:172e
       - 2001:0000:0000:34fe:0000:0000:00ff:0321
สามารถเขียนย่อได้เป็น
          ::192.168.1.1
       ::ffff:192.168.1.1






วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

สิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมอบรมสัมมนา เรื่องกฎหมาย IT

.....กฏหมายไอที.....
          เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มีการเชื่อมโยงกันทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตย่อมมีข้อมูลสารสนเทศที่ส่งผ่าน จากผู้ส่ง ไปยังผู้รับ และหากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ไม่มีระบบความปลอดภัยที่ดี หรือรัดกุม ข้อมูลนั้นอาจจะถูกปรับเปลี่ยน ถูกจารกรรม หรือถูกทำลายไป โดยที่ผู้ส่ง และผู้รับ ไม่สามารถรับรู้ได้เลย ผู้ใช้ควรจะมีคุณธรรมและจริยธรรมพื้นฐานที่ต้องปฏิบั ติควบคู่กับการใช้งาน เพื่อเป็นการใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ร่วมกันอย่าง เหมาะสม
สิ่งที่ได้รับ....
1. ได้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายไอที มาตราต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกับความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือไอทีต่างๆ
2. นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ จะได้ไม่ไปใช้ในทางที่ผิดทางเทคโนโลยี
3. เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยแพร่ ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี
4. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศโนโลยี คอมพิวเตอร์และไอทีต่างๆ


สถาปัตยกรรมของระบบเครือข่าย

               สถาปัตยกรรมของระบบเครือข่าย (Network Architecture) หรือโทโปโลยี (Topology) คือลักษณะทาง กายภาพ (ภายนอก) ของเครือข่ายซึ่งหมายถึงลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการ ออกแบบ พิจารณาเครือข่ายให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายหลักๆ มีดังต่อไปนี้

1. โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology)
    เป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของเครือข่าย โทโปโลยีแบบบัส คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า"บัส" (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบัสว่างหรือไม่
2. โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)
 
เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารจะถูกส่งจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง วนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน (ในระบบเครือข่ายรูปวงแหวนบางระบบสามารถส่งข้อมูลได้สองทิศทาง) ในแต่ละโหนดหรือสถานี จะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการ สื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล สำหรับการส่งข้อมูลออก
3. โทโปโลยีรูปดาว (Star Topology)
   เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายรูปดาว หลายแฉก โดยมีสถานีกลาง หรือฮับ เป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด นอกจากนี้สถานีกลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย การสื่อสารภายใน เครือข่ายแบบดาว จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่ม
4. โทโปโลยีแบบผสม (Hybridge Topology)
   เป็นเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลแบบผสมระหว่างเครือข่ายแบบใดแบบหนึ่งหรือมากกว่า เพื่อความถูกต้องแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและภาพรวมขององค์กร

มาตรฐานของ wireless LAN

ระบบเครือข่ายแลนไร้สาย IEEE 802.11 (Wireless LAN)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมาตรฐาน IEEE 802.11
          มาตรฐาน IEEE 802.11 ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540 IEEE (The Institute of Electronics and Electrical Engineers) และเป็นเทคโนโลยี สำหรับ WLAN ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด คือ ข้อกำหนด (Specification) สำหรับอุปกรณ์ WLAN ในส่วนของ Physical (PHY) Layer และ Media Access Control (MAC) Layer โดยในส่วนของ PHY Layer มาตรฐาน IEEE 802.11 ได้กำหนดให้อุปกรณ์มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 1,2,5.5 ,11 และ 54 Mbps โดยมีสื่อ ประเภทให้เลือกใช้ ได้แก่ คลื่นวิทยุที่ความถี่สาธารณะ 2.45 GHz และ 5 GHz และ อินฟราเรด (Infrared)  (1 และ 2 Mbps เท่านั้น)

1. IEEE 802.11a
             ถูกเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2542  ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย  ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า CCK (Complimentary Code Keying) ผนวกกับ DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 11 Mbps ผ่านคลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz  ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้คลื่นความถี่นี้ ได้แก่ โทรศัพท์ไร้สาย, Bluetooth    มาตรฐาน IEEE 802.11b เป็นที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ใช้เครื่องหมายการค้าที่รู้จักกันดีในนาม Wi-Fi  โดยใช้ร่วมกับอุปกรณ์ยี่ห้อต่างๆ ที่มีเครื่องหมาย Wi-Fi ได้
 
2. IEEE 802.11b    
          ถูกเผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2542  ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing)  รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps แต่จะใช้คลื่นวิทยุที่ความถี่ 5 GHz ซึ่งเป็นย่านความถี่สาธารณะสำหรับใช้งานในประเทศสหรัฐอเมริกา  ซึ่งมีข้อเสียคือบางประเทศย่านความถี่ดังกล่าวไม่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างสาธารณะ  เช่น ประเทศไทย  ซึงไม่อนุญาตให้มีการใช้งานเนื่องจากความถี่ย่าน 5 GHz ได้ถูกใช้สำหรับกิจการอื่นแล้ว  และรัศมีของสัญญาณมีขนาดค่อนข้างสั้น คือประมาณ 30 เมตร  จึงไม่เป็นที่นิยม
 
3. IEEE 802.11g
             ถูกเผยแพร่เมื่อกลางปี พ.ศ. 2546   IEEE 802.11g เป็นมาตรฐานที่จะเข้ามาทดแทนมาตรฐาน IEEE 802.11b  ใช้นำเทคโนโลยี OFDM มาประยุกต์ใช้ในช่องสัญญาณวิทยุความถี่ 2.4 GHz ซึ่งอุปกรณ์ IEEE 802.11g WLAN มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดที่ 54 Mbps ส่วนรัศมีสัญญาณของอุปกรณ์ IEEE 802.11g WLAN จะอยู่ระหว่างรัศมีสัญญาณของอุปกรณ์ IEEE 802.11a และ IEEE 802.11b เนื่องจากความถี่ 2.4 GHz เป็นย่านความถี่สาธารณะสากล  และสามารถที่จะใช้งานร่วมกันกับอุปกรณ์ที่ใช้มาตรฐาน IEEE 802.11b ได้จึงทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานของระบบไร้สายที่ใช้กันอยู่เดิมอย่าง IEEE 802.11b เพียงแต่อัพเกรดเฟิร์มแวร์เท่านั้นหรือใช้งานกับ Access Point เลยก็ทำได้เช่นเดียวกัน   ดังนั้นจึงมีแนวโน้มสูงว่าอุปกรณ์